วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูล

 ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์


           ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
2.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
3.สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
4.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
5.กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)


สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์

1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
– สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)

– สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)

1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน

1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง

2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร

2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม

2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)


ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน

2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)

4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ

5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)




ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

2. เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN)

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)



รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายnetwork topology

1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้

2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้

3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน

4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน


อุปกรณ์เครือข่าย
1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้


โปรโตคอล (Protocol)
      โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกันซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่นองค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่ามาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด(Open System International :OSI)

ชนิดของโปรโตคอล
1.ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
2.เอฟทีพี (FTP)
3.เอชทีทีพี (HTTP)
4.เอสเอ็มทีพี (SMTP)
5.พีโอพีทรี (POP3)


การถ่ายโอนข้อมูล
1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
         ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)
         การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

เทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอ

เทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอ


มุมกล้อง  การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
  1. ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
  2. ภาพมุมต่ำการถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
  3. การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ

เทคนิคการซูมและการโพกัส
  1. ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
  2. หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
  3. อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูราย ละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
  4. ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล

การแพนกล้อง
          การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่ จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ

การบันทึกเป็นช็อต     
            “ช็อต” คือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต

วิธีการบันทึกเป็นช็อต
         การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ

รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต
         Wide Shot (WS) “Extreme Long Shot” เป็นการถ่ายวิดีโอที่โชว์ภาพโดยรวม หรือเปิดให้เห็นทั้งวัตถุหลักที่อยู่ท่รามกลางบรรยากาศรอบข้าง

         Long Shot (LS) เป็นการซูมเข้ามาเพื่อเก็บรายละเอียดของวัตถุหลักมากขึ้น แต่ยังคงเก็บภาพแวดล้อมรอบข้างไว้ด้วย เพื่อบอกเล่าเรื่องราว

        Medium Shot ยังแบ่งเป็น Medium Long Shot,Medium Shot,Medium Ciose-up Shot (MCU) เป็นการเก็บรายละเอียดเฉพาะส่วนบนหรือครึ่งบนขอวัตถุหรือเรียกว่า
การถ่ายภาพครึ่งตัวของภาพนั้นๆ

        Close-up Shot (CU) เป็นการซูมให้เห็นเฉพาะวัตถุหลัก โดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพื่อให้เห็นว่าต้องการระบุ รายละเอียดเฉพาะวัตถุเท่านั้น ถ้าเป็นการถ่ายวิดีโอบุคคลก็จะเก็บภาพตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป


ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต         
         ช็อตมุมกว้าง คือ บอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
         ช็อตการแพน การยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา


เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว
          “การไวด์” หรือ "Wide Shot" เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่า”ลองช็อต“(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซุฒเข้าไปอีก ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้
          การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็นจังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะนิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการลดกล้องมาอยู่ในมือ ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป แถมอาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า


การถ่ายให้กระชับ
           การถ่ายให้กระชับ หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและยืดยาว ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง


อ้างอิง :  https://krubeenan.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%87/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD/

เทคนิคการตั้งคำถาม

เทคนิคการตั้งคำถาม
          การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
         การถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ กระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย



ระดับของการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามมี 2 ระดับ คือ คำถามระดับพื้นฐาน และคำถามระดับสูง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

        1) คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ในการตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ คำถามในระดับนี้เป็นการประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนเรียน วินิจฉัยจุดอ่อน – จุดแข็ง และสรุปเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว คำถามระดับพื้นฐานได้แก่

         1.1) คำถามให้สังเกต เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนคิดตอบจากการสังเกต เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสืบค้นหาคำตอบ คือ ใช้ตาดู มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และหูฟังเสียง ตัวอย่างคำถามเช่น
  • เมื่อนักเรียนฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร 
  • ภาพนี้มีลักษณะอย่างไร 
  • สารเคมีใน 2 บีกเกอร์ ต่างกันอย่างไร 
  • พื้นผิวของวัตถุเป็นอย่างไร 
         1.2) คำถามทบทวนความจำ เป็นคำถามที่ใช้ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อใช้เชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ก่อนเริ่มบทเรียน ตัวอย่างคำถามเช่น
  • วันวิสาขบูชาตรงกับวันใด 
  • ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 
  • ใครเป็นผู้แต่งเรื่องอิเหนา 
  • เมื่อเกิดอาการแพ้ยาควรโทรศัพท์ไปที่เบอร์ใด 

        1.3) คำถามที่ให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ เป็นการถามความเข้าใจ โดยการให้บอกความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคำถามเช่น
  • คำว่าสิทธิมนุษยชนหมายความว่าอย่างไร 
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร 
  • สถิติ (Statistics) หมายความว่าอย่างไร 
  • บอกความหมายของ Passive Voice 

       1.4) คำถามบ่งชี้หรือระบุ เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนบ่งชี้หรือระบุคำตอบจากคำถามให้ถูกต้อง ตัวอย่างคำถามเช่น
  • ประโยคที่ปรากฏบนกระดานประโยคใดบ้างที่เป็น Past Simple Tense 
  • คำใดต่อไปนี้เป็นคำควบกล้ำไม่แท้ 
  • ระบุชื่อสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง 
  • ประเทศใดบ้างที่เป็นสมาชิก APEC 

2) คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ผู้เรียนตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ โดยอาจใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานในการคิดและตอบคำถาม ตัวอย่างคำถามระดับสูงได้แก่

        2.1) คำถามให้อธิบาย เป็นการถามโดยให้ผู้เรียนตีความหมาย ขยายความ โดยการให้อธิบายแนวคิดของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคำถามเช่น
  • เพราะเหตุใดใบไม้จึงมีสีเขียว 
  • นักเรียนควรมีบทบาทหน้าที่ในโรงเรียนอย่างไร 
  • ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร 
  • นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะทำให้ร่างกายแข็งแรง 

        2.2) คำถามให้เปรียบเทียบ เป็นการตั้งคำถามให้ผู้เรียนสามารถจำแนกความเหมือน – ความแตกต่างของข้อมูลได้ ตัวอย่างคำถามเช่น
  • พืชใบเลี้ยงคู่ต่างจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่างไร 
  • จงเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 
  • DNA กับ RNA แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 
  • สังคมเมืองกับสังคมชนบทเหมือนและต่างกันอย่างไร 

        2.3) คำถามให้วิเคราะห์ เป็นคำถามให้ผู้เรียนวิเคราะห์ แยกแยะปัญหา จัดหมวดหมู่ วิจารณ์แนวคิด หรือบอกความสัมพันธ์และเหตุผล ตัวอย่างคำถามเช่น
  • อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 
  • วัฒนธรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 
  • สาเหตุใดที่ทำให้นางวันทองถูกประหารชีวิต 
  • การติดยาเสพติดของเยาวชนเกิดจากสาเหตุใด 

       2.4) คำถามให้ยกตัวอย่าง เป็นการถามให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการคิด นำมายกตัวอย่าง ตัวอย่างคำถามเช่น
  • ร่างกายขับของเสียออกจากส่วนใดบ้าง 
  • ยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ 
  • หินอัคนีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง 
  • อาหารคาวหวานในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้แก่อะไรบ้าง 

      2.5) คำถามให้สรุป เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น
  • จงสรุปเหตุผลที่ทำให้พระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวง 
  • เมื่อนักเรียนอ่านบทความเรื่องนี้แล้วนักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง 
  • จงสรุปแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด 
  • จงสรุปขั้นตอนการทำผ้าบาติค 

      2.6) คำถามเพื่อให้ประเมินและเลือกทางเลือก เป็นการใช้คำถามที่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบหรือใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างคำถามเช่น
  • การว่ายน้ำกับการวิ่งเหยาะ อย่างไหนเป็นการออกกำลังกายที่ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด 
  • ระหว่างน้ำอัดลมกับนมอย่างไหนมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่ากัน เพราะเหตุใด 
  • ดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว ดินชนิดใดเหมาะแก่การปลูกมะม่วงมากกว่ากันเพราะเหตุใด 
  • ไก่ทอดกับสลัดไก่ นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารชนิดใด เพราะเหตุใด 

      2.7) คำถามให้ประยุกต์ เป็นการถามให้ผู้เรียนใช้พื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างคำถามเช่น
  • นักเรียนมีวิธีการประหยัดพลังงานอย่างไรบ้าง 
  • เมื่อนักเรียนเห็นเพื่อนในห้องขาแพลง นักเรียนจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไร 
  • นักเรียนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง 
  • นักเรียนจะทำการส่งข้อความผ่านทางอีเมลล์ได้อย่างไร 


        2.8) คำถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ เป็นลักษณะการถามให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่นหรือที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างคำถามเช่น
  • กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำไปประดิษฐ์ของเล่นอะไรได้บ้าง 
  • กล่องหรือลังไม้เก่า ๆ สามารถดัดแปลงกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 
  • เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว นักเรียนจะนำไปดัดแปลงเป็นสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์ 
  • นักเรียนจะนำกระดาษที่ใช้เพียงหน้าเดียวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งใดบ้าง 

           การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง และเป็นคนมีเหตุผล ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้ ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง

          การตอบคำถามระดับสูง ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ


อ้างอิง : http://www1.nsdv.go.th/innovation/questioning.htm

'สื่อสาร' เปิดใจพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

'สื่อสาร' เปิดใจพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

/data/content/23467/cms/fhjlqxy12379.jpg
          
             ในหลายครอบครัว "พ่อแม่กับลูกวัยรุ่น" เปรียบเสมือนลิ้นกับฟันที่เกิดการ กระทบกระทั่งกันได้ง่าย ปัญหาหลายอย่างมีความอ่อนไหว เปราะบาง นักจิตวิทยาและผู้ทำงานด้านครอบครัวมีระบุถึงสาเหตุพร้อมคำแนะนำเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน

             ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ปธ.โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มศว. กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากปัญหาบุคลิก ภาพของตัวเด็กเองหรือแม้แต่ครอบครัว ความเก็บกดเกิดจากสิ่งที่ต้องการนั้นไม่ได้ตามใจหวัง จึงเก็บความรู้สึกอันนี้ไว้ วันดีคืนดีอาการเก็บกดก็ระเบิดออกมา

             "ครอบครัวที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ ครอบครัวที่มีการคาดหวังสูง อาจทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกกดดันหรือถูกเปรียบเทียบ ทำให้รู้สึกเก็บกด เช่น พี่ดีกว่าน้อง น้องดีกว่าพี่ เมื่อเก็บความรู้สึกและรู้สึกเก็บกดไปเรื่อยๆ จะเกิดจังหวะหุนหันพลันแล่น ถ้าบุคคลนั้นมีอาการเงียบ อาจเป็นเพราะเขาไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้ เช่น ในกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่มีเด็กวัยรุ่นกราดยิงเด็กตายทั้งโรงเรียน หากกลับไปย้อนดูประวัติของเด็กที่กระทำจะเป็นเด็กเรียบร้อย ไม่มีพิษภัยอะไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กอาจจะไม่มีการแสดงออกหรือไม่กล้าแสดงออก แต่เก็บอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ เพราะในชีวิตจริงไม่มีการระบายออกทางอารมณ์"

              จากข่าวของเด็กรายนี้ เกิดความจำที่ฝังใจว่าแล้วทำไมบอกแบบนี้ แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ รู้สึกเจ็บใจและเสียใจจึงต้องการทำอะไรบางอย่าง บางคนอาจใช้วิธีประชด หลังจากกระทำแล้วจะเกิดความรู้สึกผิด

             "ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นของเหตุการณ์นี้คือสุรา ถ้ามีปัญหาก็จะกินเหล้า บางจังหวะจึงไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้สิ่งที่เก็บไว้ภายในใจที่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ คิดเล็กคิดน้อย เมื่อมีสุรามากระตุ้นจึงเป็นเหตุให้ระเบิดอารมณ์เพิ่มมากขึ้น"
              วิธีการแก้ไขไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นคือสิ่งที่เก็บกดนั้นต้องผ่อนคลายและระบายออก ทำได้หลายทาง เช่น การพูดโดยตรงกับเพื่อนหรือคนที่สนิทไว้ใจได้ หรือจะนำพลังที่กำลังเก็บกดไปใช้ในทางสร้างสรรค์ เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น เอาชนะคำสบประมาท
/data/content/23467/cms/bcfkmns24568.jpg
          
            นายวันชัย บุญประชา เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว พูดถึงการสื่อสารว่า เป็นการแสดง ออกถึงสิ่งที่เรารู้สึกในใจ โดยปกติพ่อและแม่หรือครอบครัวที่มีลูกจะรู้สึกห่วงใยลูก อยากให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี เขาจะแสดงออกด้วยการสื่อสาร

            ซึ่งการสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 1. การสื่อสารแบบให้กำลังใจ ชื่นชมในสิ่งที่ลูกทำดี ถือว่าสื่อสารเชิงบวก
 2. การสื่อสารด้วยการตำหนิ ดุด่า เพื่อให้ลูกปรับปรุงหรือทำในสิ่งที่เห็นว่าดี ถือเป็นความหวังดีของพ่อแม่ แต่ลูกจะรู้สึกว่าการที่ตัวเองถูกตำหนิคือตัวเองไม่มีคุณค่า ลักษณะนี้เป็นการสื่อสารเชิงลบ
3. การเพิกเฉย ไม่มีการสื่อสารเมื่อลูกทำดีหรือทำผิด พ่อกับแม่เงียบ ลูกก็ไม่มีวันรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกหรือผิด ทั้ง 3 ลักษณะเป็นความหวังดีของพ่อแม่ที่ลูกอาจจะไม่เข้าใจ ไปเข้าใจผิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่สนใจ เป็นมูลเหตุสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา

            ส่วนการที่บางครอบครัวพยายามสร้างความไว้วางใจด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูพฤติกรรมลูก หลายครอบครัวทำแบบนี้เมื่อพ่อแม่ไม่แน่ใจในพฤติกรรมลูก หรือเป็นห่วงว่าลูกจะอยู่ในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ชนชั้นกลางส่วนมากจะติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ดูลูกเล็กๆ แต่สำหรับเด็กโตอาจเกิดความไม่ไว้วางใจของพ่อแม่ อันนี้ต้องคุยกับลูกให้ดี โดยเฉพาะลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ต้องเห็นชอบร่วมกันทั้งพ่อแม่และเด็ก

            การติดตั้งกล้องวงจรปิดไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาพฤติกรรมของลูกได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ การสื่อสารกับลูกอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่ไว้ใจเรื่องใดก็สื่อสารแล้วสร้างกติการ่วมกัน
  
            ขณะเดียวกันการที่เด็กเติบโตมามี 2 ปัจจัย คือ 
 1. เติบโตมาโดยเรียนรู้แบบเห็นอารมณ์ความรู้สึกเยอะ เช่น ดูละครหรือสื่อต่างๆ แล้วซึมซับมา ลักษณะนี้ถ้าเด็กถูกกระตุ้นความรู้สึกเยอะจะไม่ใช้เหตุผลแก้ปัญหา
2. การเติบโตมาโดยเรียนรู้การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล ถ้าพ่อแม่กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น เด็กจะเติบโตอย่างมีเหตุผล ดังนั้นผู้ปกครองต้องค่อยๆ ให้เด็กใช้เหตุผล โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นที่ต้องสอนให้ดูแลอารมณ์ตัวเองมากขึ้น ขณะที่เด็กก็ต้องฝึกเรื่องความคิดถึงเหตุและผล เพื่อให้มีเวลาตั้งสติมากขึ้น เพราะอารมณ์โกรธสำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ตลอด


               พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต พูดถึงการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นว่า มีความพิเศษกว่าปกติ เพราะเด็กที่ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร วัยรุ่นจะมีพื้นที่ส่วนตัวมากกว่าเดิม การสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ให้เกิดปัญหา การฟังซึ่งกันและกันจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้มากที่สุด พ่อแม่จำเป็นต้องปรับตัวมากกว่าเดิม เพราะเด็กเล็กพ่อแม่ใช้วิธีสอนและสั่ง แต่เด็กที่ก้าวเข้าสู่วัยรุ่นการใช้วิธีดูแลแบบเด็กๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันแย่ลง โดยเฉพาะการใช้คำสั่ง การไม่ปล่อยให้เด็กได้แสดงออกหรือมีพื้นที่ส่วนตัว

               "การที่พ่อแม่ไม่รับฟัง ไม่รักษาระยะห่าง ดูแลลูกใกล้ชิดจนไม่เหลือพื้นที่ส่วนตัว ใช้วิธีออกกฎบังคับจะทำให้เด็กต่อต้านหลายแบบ ทั้งแสดงออกด้วยความก้าวร้าว หรือเงียบแต่ไม่ทำตาม และปฏิบัติ

                 ตัวออกนอกกฎที่วางไว้เสมอๆ แต่หากพ่อแม่ปล่อยลูกอิสระมากจนเกินไปจนไม่สามารถรู้เรื่องใดๆ เกี่ยวกับลูกเลย ก็จะทำให้ลูกห่างออกไปและไปปรึกษาคนอื่นแทน"

                 การสื่อสารในครอบครัวเมื่อมีลูกวัยรุ่นพ่อแม่ต้องเป็นผู้รับฟัง ให้โอกาสลูก ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ อธิบายถึงเหตุผล เช่น หากลูกต้องการสิ่งของหนึ่งอย่าง และพ่อแม่มองว่ายังไม่ควรซื้อหรือมีเหตุผลที่ซื้อให้ไม่ได้ จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุและมีทางเลือกให้ลูกร่วมตัดสินใจด้วยกัน

                นอกจากนี้พ่อแม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสังเกตความผิดปกติของลูก เช่น การเก็บตัว ไม่ร่าเริง เมื่อมีปัญหาพ่อแม่สามารถร่วมจัดการได้โดยใช้การรับฟังปัญหา ไม่ใช่สั่งสอนเพียงอย่างเดียว และไม่ก้าวล้ำความเป็นส่วนตัว

                สำหรับเด็กที่ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น การมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นบางครั้งจะทำให้มั่นใจในสิ่งที่ทำจนลืมคิดไปว่า ประสบการณ์ ของตัวเองในการประเมินผลกระทบของเรื่องต่างๆ ที่จะส่งผลต่ออนาคตนั้นยังมีอยู่น้อยและอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าความคิดและความรับผิดชอบของตัวเองนั้นมีความเสี่ยง การรับฟังผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดียวกัน

                 ฉะนั้นในครอบครัวจึงต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกันว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดของตัวเอง มีเหตุผลสำหรับการตัดสินใจในแต่ละเรื่องแตกต่างกัน การรับฟังซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด



อ้างอิง : http://www.thaihealth.or.th/Content/23467-'%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3'%20%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.html

การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว


  สถาบันครอบครัวถือว่ามีความสำคัญกับสังคมไทยเป็นอย่างสูง เพราะสังคมไทยได้ยึดเอาสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักทางสังคม ดังนั้น การที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุขและอบอุ่นก็จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการวิจัยของหลายๆท่านปรากฎว่าถ้าใครได้เจริญเติบโตในครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่นจะเป็นพลเมืองที่ดีและมีศักยภาพที่ดีในสังคม

ความขัดแย้งในครอบครัว ในปัจจุบันสภาพสังคมเต็มไปด้วยความรีบเร่ง และการแข่งขันสูง ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งก็เป็นผลมาสู่สถาบันครอบครัวหลายๆเรื่อง เช่น เกิดการทะเลาะวิวาทของคนภายในครอบครัว นี่ก็อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการดังนี้

1.สาเหตุความขัดแย้งระหว่างสามีภรรยา ก็มีสาเหตุดังนี้
  • นิสัยและความเคยชินส่วนตัวที่แตกต่างกัน
  • ขาดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน
  • ความไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตน
  • การไม่มีเวลาให้กันและกัน
  • การใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา
  • การเข้ากันไม่ได้ระหว่างญาติของแต่ละฝ่าย
2.สาเหตุความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้
- นิสัยจู้จี้จุกจิกขี้บ่นของพ่อแม่
- การเรียน เกิดความคาดหวังจากการเรียนของลูก
- การคบเพื่อน พ่อแม่บางคนเข้มงวดในการคบเพื่อนของลูก
- ช่องว่างระหว่างวัย พ่อแม่และลูกต้องปรับตัวเข้าหากัน

แนวทางป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว

1. การป้องกันความขัดแย้งในครอบครัว
  • ให้ความรัก
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี
  • ยอมรับพฤติกรรมของตนเอง
  • พยายามปรับตัวเข้าหากัน
  • ไม่ใช้อารมณ์หรือความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  • ตั้งกติกาของครอบครัว
2. แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งภายในครอบครัว
  • แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แท้จริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา
  • พูดเมื่อพร้อมที่จะพูด
  • พูดถึงเฉพาะเรื่องหรือพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
  • ให้โอกาสอีกฝ่ายชี้แจงเหตุผล
  • ย้ำเรื่องราวให้เข้าใจตรงกัน
  • ฝ่ายที่ถูกโกรธจะต้องจับประเด็นปัญหาให้ได้
  • เตรียมความพร้อมที่จะประณีประนอม
  • มีความตั้งมั่นที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข
การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
         
         หลักการสร้างสัมพันธภาพ คือภาวะที่ผูกพันเกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจเป็นระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน โดยมีหลักดังนี้
  1. เคารพสิทธิผู้อื่น
  2. มองโลกในแง่ดี
  3. อ่อนน้อมถ่อมตน
  4. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
  5. มีเหตุผล
  6. รับผิดชอบต่อหน้าที่
  7. ให้ความไว้วางใจ
  8. ให้ความร่วมมือ
  9. ยอมรับความติชม
  10. ให้กำลังใจ

แนวทางการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
1.ครอบครัวอบอุ่น
  • มีความผูกพันทางอารมณ์ที่เหมาะสม
  • มีการจัดลำดับอำนาจและความเป็นผู้นำที่ชัดเจน
  • สมาชิกมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน
  • สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • มีการใช้เวลาอยู่ร่วมกันตามสมควร
2.สัมพันธภาพในครอบครัวที่ดีมีดังนี้
  • ดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
  • ความเข้าใจ
  • ความรักความผูกพัน
  • มีเวลาให้กันอย่างเหมาะสม
  • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • ความเคารพกัน
  • รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
  • สามัคคีปรองดองกัน
  • ความไว้วางใจ
  • พูดคุยปรึกษาหารือกัน

อ้างอิง : http://www.namsongkram.com/2014/08/blog-post_6.html

การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์
            การสัมภาษณ์ คือการคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งนิยมใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่ เช่น เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การปรับตัว เจตคติ ความสนใจ รวมทั้งคุณลักษณะเกี่ยวกับการปฏิบัติในด้านวิธีการปฏิบัติ การใช้การสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในด้านความรู้ความคิดทางสติปัญญาก็สามารถใช้ได้ แต่ต้องระมัดระวังในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีหลายคน และใช้คำถามคนละชนิดคนละเรื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเปรียบเทียบคะแนน

ประเภทของการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือแบบสัมภาษณ์ล่วงหน้าให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการทราบจากผู้ถูกสัมภาษณ์
  2. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมแต่ จุดมุ่งหมายไว้แล้วใช้วิธีการสนทนาซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่ามีบรรยากาศที่เป็นกันเอง และอาจมีการป้อนคำถามนำบ้าง 

หลักเกณฑ์ในการสัมภาษณ์
  • ผู้สัมภาษณ์ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการรู้สิ่งใดจากผู้ถูกสัมภาษณ์ 
  • ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถามหรือคำสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า 
  • ผู้สัมภาษณ์ต้องสร้างความเป็นกันเองโดยการยิ้มแย้มแจ่มใสแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ 
  • ผู้สัมภาษณ์ควรรู้เรื่องที่ตนเองจะสัมภาษณ์เป็นอย่างดีเพื่อช่วยในการสรุปผล และช่วยในการตั้งคำถามเสริมระหว่างที่สัมภาษณ์ 
  • ต้องมีการจดบันทึกผลการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์หวาดระแวง

ขั้นตอนของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์มีขั้นตอนในการดำเนินการ 3 ขั้น ดังนี้

  • ขั้นเริ่มสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิคที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ 
  1. ผู้สัมภาษณ์จะต้องแนะนำตนเอง บอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ พร้อมทั้งพยายามชี้แนะให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เห็นว่าเขามีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้งานเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างสมบูรณ์ และจะต้องชี้แจงแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยว่า ข้อมูลครั้งนี้ถือเป็นความลับ และถ้าจะบันทึกเทปต้องแจ้งแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ทราบก่อนด้วย
  2. พยายามสร้างบรรยากาศ และสัมพันธภาพที่ดีในการสัมภาษณ์ โดยใช้เวลาเล็กน้อยสนทนาเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์สนใจทั่ว ๆ ไปก่อน เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคุ้นเคย มีความรู้สึกเป็นมิตร และไว้วางใจผู้สัมภาษณ์
  • ขั้นสัมภาษณ์เนื้อหา ผู้สัมภาษณ์ควรคำนึงถึงเทคนิค ดังต่อไปนี้ 
  1. คำถามควรสั้นกะทัดรัด และปล่อยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดอย่างเสรีเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเขามีอิสระที่จะพูดตามที่เขาคิด 
  2. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ หรือสั่งสอนผู้ให้สัมภาษณ์ เมื่อผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลหรือมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับที่สังคมยอมรับ 
  3. อย่าใช้คำถามที่เป็นการชี้แนะคำตอบ 
  4. ในระหว่างสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ไม่ควรจะเร่งรัด หรือคาดคั้นคำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ 
  5. ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนหรือเป็นที่พอใจ ถ้ายังไม่คุ้นเคยกันนักอาจจะผ่านไปก่อน เมื่อจบการสัมภาษณ์แล้วค่อยย้อนกลับมาถามใหม่ โดยกล่าวในเชิงทบทวนคำถาม หรือทบทวนคำตอบแบบสุภาพ 
  • ขั้นยุติการสัมภาษณ์ ควรกล่าวคำขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการสัมภาษณ์ 
การจดบันทึกคำตอบในแบบสัมภาษณ์ การจดบันทึกคำตอบในการสัมภาษณ์ มีแนวปฏิบัติดังนี้
  1. ต้องจดบันทึกทันทีหลังจากการสัมภาษณ์แล้ว เพื่อกันลืมหรือสับสน
  2. รายละเอียดที่จะบันทึก ได้แก่ ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ ที่อยู่ วันที่สัมภาษณ์ ผลการสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วย เรื่องที่สัมภาษณ์ คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์ ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีต่อปัญหา ข้อสังเกตที่ได้ในขณะสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ สรุปข้อเสนอแนะและสรุปผลการสัมภาษณ์
  3. ควรบันทึกแต่เนื้อหาสาระเท่านั้น ไม่ควรใส่ความคิดเห็นของผู้สัมภาษณ์เพราะอาจก่อให้เกิดความเอนเอียงได้
  4. ถ้าไม่ได้คำตอบในการสัมภาษณ์ในคำถามใดผู้สัมภาษณ์ควรจะบันทึกเหตุผลไว้ด้วย 

การสัมภาษณ์ในการเรียนการสอน ในการเรียนการสอนสามารถนำการสัมภาษณ์ไปใช้ได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
  1. ใช้ในการทดสอบ ในกรณีที่นักเรียนยังเขียนไม่เป็น ครูอาจนำข้อสอบมาถามให้นักเรียนตอบด้วยวาจา ก็ถือเป็นการสัมภาษณ์ 
  2. ใช้ประกอบการสังเกต ถ้าครูใช้การสังเกตแล้วยังพบว่าได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนก็อาจจำเป็นต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม 
  3. ใช้แทนการสังเกต ในบางครั้งครูอาจไม่สามารถสังเกตนักเรียนได้ทั่วถึงทุกคน ก็อาจใช้วิธีการซักถามจากเพื่อนครูคนอื่น หรือบุคคลอื่นที่เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลมาตัดสิน 
  4. ใช้การสัมภาษณ์ซักถามนักเรียนโดยตรงเพื่อหาข้อเท็จจริง 

การสัมภาษณ์ควรจะมีแบบบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย เพื่อจะได้ทำให้เกิดความสะดวกในการบันทึก

การใช้การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์มีลักษณะเหมือนการสอบปากเปล่า โดยใช้ประสาทสัมผัสเป็นสื่อ ซึ่งจะต้องระมัดระวัง ดังนี้
  • ผลของการสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้สัมภาษณ์ วิธีการ และคำถามที่จะใช้ ผู้สัมภาษณ์จึงควรมีลักษณะดังนี้
  1. มีการเตรียมตัวให้พร้อม คำพูด ท่าทาง ต้องเหมาะสมถูกกาลเทศะ
  2. มีความคล่องแคล่วในการใช้คำถาม และการสรุปผล
  3. มีการกระตุ้นเตือนในการใช้คำถามยั่วยุให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถาม แต่ไม่ใช้คำพูดแบบตีโวหารหรือเล่นสำนวน
  4. พยายามถามเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์อยากตอบ และไม่ถามเชิงแนะคำตอบ
  • ผู้ถูกสัมภาษณ์จะให้ข้อเท็จจริงและรายละเอียดมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้สัมภาษณ์ควรปฏิบัติต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนี้
  1. สร้างความเป็นกันเองเพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด มีอิสระในการตอบ 
  2. ให้ความสนใจ และความจริงใจ 
  3. ไม่ควรถามในเรื่องที่ทำให้เสียศักดิ์ศรีหรือเป็นจุดบกพร่องที่รุนแรงของผู้ถูกสัมภาษณ์ 
  • ควรมีการติดต่อนัดหมายและแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า
  • พยายามอย่าให้มีอคติทางอารมณ์เกิดขึ้นกับผู้สัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์
  • ไม่ควรใช้เวลาสัมภาษณ์ติดต่อกันนานเกินไป

ข้อดีของการสัมภาษณ์

  1. ใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แม้ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือเขียนไม่ได้ก็สามารถให้ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ได้
  2. การสัมภาษณ์เป็นการสร้างความเป็นกันเองกับผู้สัมภาษณ์โดยตรง
  3. ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถซักถามคำถามให้เข้าใจก่อนที่จะตอบได้
  4. ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อถือได้มากกว่าแบบสอบถาม
  5. ผู้ถูกสัมภาษณ์มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามเมื่อไม่เข้าใจได้
  6. ผู้สัมภาษณ์สามารถอ่านความรู้สึกนึกคิดของผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องต่าง ๆ ได้

ข้อเสียของการสัมภาษณ์
  1. ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับผู้สัมภาษณ์โดยตรงได้แก่คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ เช่น บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ ไหวพริบ การตัดสินใจ เป็นต้น
  2. อารมณ์ของผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ มีผลต่อความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
  3. การสัมภาษณ์ต้องใช้เวลามากเพราะต้องสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
  4. ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ แสง เสียงรบกวน เป็นต้น


อ้างอิง : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit5/level5-4.html



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ฮาร์ดแวร์ 
          ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ   
    หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
    หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์


2 . ซอฟต์แวร์  

            ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับ บุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่า จ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
  • ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น 
  • ซอฟต์แวร์ ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ 
  • ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล

 3. ข้อมูล
         ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวด เร็วมีประสิทธิภาพ


4. บุคลากร

         บุคลากร ในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบ สารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมาก ขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความ ต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากร ในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

          ขั้น ตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็น เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้ งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับ เครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน