5 เรื่องที่เด็กๆ เครียดมากที่สุดและวิธีแก้ไข
เราอาจจะเข้าใจว่า เด็กๆ ไม่มีความเครียด หรือความกังวลใจเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิด เพราะแม้แต่เด็กๆ ก็มีความเครียดได้ ซึ่งความเครียดในเด็กจะส่งผลทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ทำให้ไม่อยากเล่น ไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ ไม่อยากทำการบ้าน แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะเราสามารถหาทางแก้ไข หรือบรรเทาความเครียดของเด็กๆ ได้ ซึ่งความเครียดที่เด็กๆ มักจะเป็นบ่อยๆ และวิธีแก้ไขความเครียดเหล่านั้น มีดังนี้
2.ทะเลาะกับพี่น้อง หรือเพื่อน ความจริงแล้วการทะเลาะกันกับพี่ๆ น้องๆ หรือเพื่อนๆ เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็กเลยก็ว่าได้ เพราะเด็กๆ ยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในการยับยั้งอารมณ์ของตัวเองสักเท่าไรนัก เช่น ทะเลาะกันเพราะแย่งของเล่นหรือของกิน แย่งกันดูทีวีรายการโปรด ทะเลาะเพราะเกี่ยงกันไม่ยอมทำงานบ้าน
แม้เรื่องที่เด็กๆ ทะเลาะกันดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยมากสำหรับผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปัญหานี้ไป เพราะจะสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็กๆ ว่า เมื่อไม่พอใจอะไรก็หาเรื่องใส่กัน แต่ควรแก้ไขด้วยการแยกเด็กๆ ออกจากกันสักพักหนึ่ง แล้วค่อยเรียกเด็กๆ ที่ทะเลาะกันมาพูดคุยปรับความเข้าใจกัน โดยอาจใช้ลักษณะของการตั้งคำถามให้เด็กๆ ได้คิดหาทางออกที่เหมาะสม เช่น หากทะเลาะกันเรื่องแย่งของเล่น ก็ให้พูดคุยโดยถามว่าของเล่นมีกี่ชิ้น แบ่งกันเล่นได้หรือไม่ เล่นคนเดียวสนุกกว่าเล่นกับเพื่อนหรือไม่ หรือทะเลาะกันเรื่องไม่อยากทำงานบ้าน อาจถามเขาว่า ช่วยกันทำหลายคนงานจะเสร็จเร็วกว่าหรือจะเหนื่อยน้อยกว่าทำคนเดียวหรือไม่
การแก้ไขด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้หยุดนิ่งที่จะปรับความคิด ความรู้สึกหรืออารมณ์ของตัวเอง และเราจะได้รู้ความต้องการของเด็กๆ ว่า เขาต้องการให้เป็นอย่างไร ดีกว่าการที่พ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหาด้วยการสั่งให้เป็นไปแบบนั้นแบบนี้เพราะเด็กๆ จะรู้สึกเครียด อึดอัด และต่อต้านมากขึ้นก็เป็นได้
3.ใครๆ ก็ไม่รักหนู เด็กๆ บางคนรู้สึกว่าพ่อแม่ พี่น้อง คุณครูหรือเพื่อนไม่รักเขา ไม่ต้องการเขา เรื่องนี้มักเป็นปัญหาที่สร้างความเครียดให้กับเด็กค่อนข้างมาก เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กๆ ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เขารู้สึกรักและผูกพันด้วย บางคนจึงแสดงออกมาในรูปแบบของการหวง อิจฉา ไม่พอใจ โมโห อยากแกล้ง ไม่พูดด้วยหรือทำร้าย เช่น คุณครูอาจตักเตือนสั่งสอนแต่เด็กไม่เข้าใจความหวังดีของคุณครู ก็เกิดความเครียดและแสดงออกในทางต่อต้าน เป็นต้นว่าไม่ยอมเรียน ไม่ยอมทำการบ้าน หรือไม่ทำความเคารพ หรือเวลามีเพื่อนใหม่มาเข้ากลุ่ม เห็นเพื่อนคนอื่นๆ ให้การต้อนรับหรือให้ความสนใจ ก็เครียดเพราะรู้สึกว่าว่าเพื่อนเรารักเพื่อนใหม่มากกว่า ก็ต่อต้านโดยการไม่พูดกับเพื่อนหรือแยกตัวออกจากกลุ่ม หรือเด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่รักลูกคนอื่นๆ มากกว่าตัวเอง ก็เครียดและต่อต้านโดยการแกล้งพี่น้องตัวเอง หรือว่าพ่อแม่ สิ่งที่ควรทำหากไม่อยากเกิดปัญหานี้ขึ้น คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากการที่เด็กเป็นคนขาดความรัก ขาดความอบอุ่น รวมถึงขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ดังนั้น จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้เขาโดยการให้ความรัก ความอบอุ่นกับเด็กอย่างเต็มที่ เมื่อเขามีเต็มแล้วเขาจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง และเขาจะเป็นคนที่ให้ความรักแก่คนอื่นได้ด้วย
4.เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ การเปลี่ยนโรงเรียนใหม่ หรือการที่เด็กเพิ่งได้ไปโรงเรียนอาจทำให้เด็กๆ เครียด เพราะเขาต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เขาไม่เคยเจอ บางคนเครียดมากถึงขั้นไม่สบาย ปวดหัว อาเจียน ปวดท้อง หรือบางคนอาจแกล้งป่วยเพราะไม่อยากไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่บางคนกลัวว่าลูกจะมีปัญหานี้ก็ป้องกันไว้ก่อนโดยก่อนเปิดเรียนก็พาเด็กๆ ไปเข้าค่ายเตรียมความพร้อมที่โรงเรียนจัดไว้ให้ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับเพื่อนๆ หรือคุณครู หรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมตามที่ต่างๆ ที่มีเด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน เช่น พาไปร่วมกิจกรรมอ่านนิทาน ไปทำกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์เด็ก ไปรวมกลุ่มทำกิจกรรมศิลปะ หรือกลุ่มกีฬา เพื่อให้เด็กๆ ได้ปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
แต่หากเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้ว วิธีแก้ไขก็คือคุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกๆ ไปทำความรู้จักกับคุณครูและเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน โดยให้ลูกได้กล่าวสวัสดีหรือกล่าวทักทายก่อนเพื่อเป็นเปิดตัวเองให้กล้าที่จะเข้าไปหาคนอื่นก่อน เมื่อทำความรู้จักกันแล้วก็ปล่อยให้ได้พูด คุย เล่นกัน โดยคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ๆ เมื่อลูกรู้สึกคุ้นเคยกับเพื่อนๆ หรือคุณครูแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ค่อยๆ ห่างออกมา แล้วเขาจะปรับตัวได้และจะรู้สึกสนุกกับการมาโรงเรียนได้เองในที่สุด
5.คิดว่าตัวเองไม่เก่ง เด็กบางคนเครียดเพราะมีความกดดันที่ตนเองทำอะไรไม่เก่งเหมือนคนอื่น เช่น เรียนไม่เก่งเหมือนพี่น้องคนอื่น ๆ เล่นกีฬาไม่เก่งเหมือนเพื่อนๆ ไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเหมือนคนอื่นๆ และเมื่อรู้สึกว่าตนไม่เก่งเท่าใครๆ เขาก็ท้อแท้ไม่อยากทำอะไรอีก จริง ๆ แล้วความเครียดในปัญหานี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเกิดจากเด็กคิดหรือรู้สึกเอง แต่เกิดจากสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู เพื่อน พูดหรือเปรียบเทียบให้เด็กต้องคิดหรือรู้สึกตาม
ดังนั้น วิธีแก้ไขประการแรก ก็คือ คนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็กต้องไม่สร้างความกดดันให้ พ่อแม่ต้องเข้าใจในตัวลูกของตัวเองว่าเขาอาจไม่มีความถนัดในด้านนั้นๆ แค่เขาเป็นเด็กดี ไม่เกเร พยายามเรียน พยายามทำกิจกรรมต่างๆ ก็ดีมากแล้ว แล้วค่อยๆ ลองแสวงหาความถนัดที่แท้จริงของลูกว่าเขาถนัดทางด้านไหน เพื่อให้เขาได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่เขาถนัดนั้นและเขาจะทำได้ดี อย่างไรก็ตามแม้เด็กๆ จะไม่เก่งด้านไหนเป็นพิเศษเลยก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามวัยของเขาไป และคอยสนับสนุนให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำก็พอแล้ว ดีกว่าไปบังคับ ยัดเยียด จนอาจกลายเป็นการสร้างความเครียดอันหนักอึ้งให้กับเขา แล้วจะกลายเป็นความล้มเหลวไปเสียทุกอย่าง
ทุกคนอาจมีเรื่องที่ไม่สบายใจบ้างในบางครั้ง แม้แต่เด็ก ๆ ก็เช่นกัน แต่เมื่อเกิดความเครียดขึ้นกับเด็กๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องหาทางช่วยเหลือในการหาวิธีแก้ไขให้เด็กๆ คลายเครียดให้ได้ เพราะเมื่อความกังวลใจหมดไป สันติสุขในจิตใจจะเข้ามาแทนที่และจะทำให้เด็กๆ มีความสุขและมีการเรียนรู้ที่ดีต่อไป
อ้างอิง : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000011195
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น