ความคาดหวังของพ่อแม่
ในใจของพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกได้ดีทั้งสิ้น อยากให้ลูกเรียนสูงๆ อยากให้มีเพื่อนดี มีความสามารถด้านอื่นนอกเหนือการเรียนหลายๆอย่าง ผู้ใหญ่รัก เพื่อนๆชอบ นิสัยดี รับผิดชอบ ตรงเวลา สุขุมรอบคอบ มีความเป็นผู้นำ และอื่นๆอีกมากมาย แต่การแสดงออกของพ่อแม่ การฝึกฝน การให้โอกาสพัฒนาลูกวัยรุ่นอาจแตกต่างกัน ถ้าตั้งความหวังไว้เช่นนี้และดำเนินการฝึกฝนให้เป็นไปตามที่พ่อแม่ฝันนั้นก็เป็นเรื่องไม่ยาก แต่หลายครั้งที่พบว่าฝันอย่างหนึ่งแต่ลงมือฝึกฝนลูกไปอีกอย่างหนึ่ง เช่น อยากให้ลูกเป็นคนรับผิดชอบ แต่ไม่ให้ช่วยตัวเองมีคนช่วยไปหมดทุกอย่างหรือไม่มอบงานให้รับผิดชอบ ก็ยากที่ความฝันของพ่อแม่จะเป็นจริงได้
สิ่งที่พ่อแม่ควรพิจารณาในรายละเอียดการเลี้ยงลูกวัยรุ่น เพื่อมุ่งไปสู่ความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่ออนาคตของลูกวัยรุ่น หลักใหญ่ๆมี 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ
ทักษะ คือ ความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เกิดขึ้นเอง เป็นการเรียนรู้ ฝึกฝนผ่านการทำกิจกรรมต่างๆจากกิจกรรมที่ง่ายไปสู่กิจกรรมที่ยากและซับซ้อน จนเกิดความชำนาญผ่านประสบการณ์จริง เช่น
1. ทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น การช่วยเหลือตัวเอง การทำหรือหาอาหาร ทำงานบ้าน การซื้อของ หารายได้ เก็บเงิน ดูแลทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวม
2. ทักษะที่เป็นสื่อในการเข้าสังคม เช่น คอมพิวเตอร์ เกมหมากฮอส หมากรุก เกมเล่น กีฬาว่ายน้ำ ฟุตบอล แบตบินตัน ปิงปอง บาสเก็ตบอล เล่นวงดุริยาง ดนตรีไทย ร้องเพลง เต้นรำ พูดได้หลายภาษา ทำกิจกรรมหลายอย่าง เป็นตัวของตัวเอง การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และคนอื่นได้หลายรูปแบบ สื่อสารชัดเจน ควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้เหมาะสม เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รวมถึงความมั่นใจในตนเอง
3. ทักษะในการเอาตัวรอดภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น ทักษะการวางแผน ความรอบคอบ การประเมินเหตุการณ์ ความระมัดระวังตัวเอง ช่างสังเกต ตรวจเช็คความปลอดภัย ทักษะการปฏิเสธสิ่งที่ไม่เหมาะสมด้วยตนเอง ความสามารถที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
4. ทักษะในการเดินทาง เช่น การขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า รถใต้ดิน การขับรถ ลงเรือ ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน ขับรถ เป็นต้น
5. ทักษะในการไตร่ตรอง สังเกต วิเคราะห์และศึกษาผู้คนที่อยู่รอบๆตัว เพื่อได้เข้าใจคนและรู้เท่าทันความคิดที่ไม่ดีของคนบางคนได้ทัน และมองเห็นและสามารถเลียนแบบข้อดีของคนที่อยู่รอบๆตัวได้เช่นกัน
กติกา กฎ ขอบเขต และข้อแม้ คือพื้นฐานของการที่คนหลายคนอยู่รวมกันอย่างพึงพอใจ โดยไม่ทำความรบกวนหรือทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน กติกา กฎเกณฑ์หรือขอบเขตเป็นสิ่งที่พ่อแม่กำหนดและฝึกฝนเด็กมาตั้งแต่เล็ก เช่น เล่นมีดไม่ได้ ต้องเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ เข้านอน 3 ทุ่ม ทำการบ้านก่อนดูทีวี ต้องเดินเองไม่มีใครอุ้มอีกแล้ว ต้องไปโรงเรียนทุกเช้า เป็นต้น จะเป็นรากฐานการฝึกฝนการเอาชนะใจตนเองของเด็กให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าจะทำในสิ่งที่ถูกใจ ซึ่งมีความสำคัญต่ออนาคตอย่างยิ่ง
เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นที่ต้องการอิสระเพิ่มขึ้น กติกา กฎเกณฑ์หรือขอบเขตจะถูกปรับเปลี่ยนขยับขยายออกไป ดังนั้น รายละเอียดจึงต้องเพิ่มขึ้น วิธีการกำหนดกติกาและให้วัยรุ่นทำตามนั้นไม่ยาก มีรายละเอียดดังนี้
1. เปิดโอกาสให้วัยรุ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขต ให้วัยรุ่นแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผลและรับรู้เหตุผลของพ่อแม่โดยยึดผลประโยชน์ที่จะเกิดกับตัววัยรุ่นเองเป็นที่ตั้ง
. 2. อาศัยเทคนิคในการพูดคุย ต่อรองเล็กน้อย ภายใต้บรรยากาศที่ดี จนทำให้เกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายยังเป็นของพ่อแม่อยู่ดี
3. เมื่อวัยรุ่นจะมีสิทธิเพิ่มขึ้น ก็ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ไปบ้านเพื่อนได้เดือนละครั้ง ดูหนังได้ 2 ครั้งต่อเดือน ใช้โทรศัพท์มือถือไม่เกินเดือนละ 300 บาท กลับบ้านไม่เกินหกโมงเย็น ใช้เงินไม่เกินเดือนละ 3000 บาท เป็นต้น โดยจะต้องรับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง เช่น การบ้าน ความสะอาดห้อง งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย เช่น หุงข้าว ซักผ้า ล้างห้องน้ำ เป็นต้น เมื่อรับผิดชอบได้ก็จะได้สิทธิตามที่ตกลงกัน ถ้ารับผิดชอบไม่ได้ก็จะเสียสิทธินั้นไป
4.การรักษากติกาให้มั่นคงเป็นเรื่องสำคัญ ท่าทีมั่นคงเข้มแข็งในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งพ่อและแม่ สม่ำเสมอ อย่าโลเล หรือใจอ่อนจนวัยรุ่นเห็นว่าคุณก็ทำอะไรเขาไม่ได้ แต่ก็เข้าใจความรู้สึกของเด็ก มีการยืดหยุ่นบ้างเล็กน้อย
5.เอาจริงกับสิ่งที่ตกลงกันไว้ ถ้ามีการละเมิดข้อตกลง ต้องมีวิธีการเตือนที่ได้ผล พ่อแม่ควรทบทวนดูเสมอว่า วิธีการเตือนแบบใดที่ไม่ได้ผลก็ควรเลิกใช้ การเตือนที่ได้ผลมักจะเกิดจากการตกลงกันไว้ล่วงหน้า และเมื่อเตือนแล้วกำกับให้เกิดผลอย่างจริงจัง ทันที เด็กจะเรียนรู้ว่าพ่อแม่เอาจริงกับสิ่งที่พูดและตกลงกันไว้ล่วงหน้า ครั้งต่อไปเมื่อมีการตกลงกันในเรื่องใดอีก เด็กก็จะตั้งใจทำตาม
ความรับผิดชอบ
พ่อแม่หลายคนที่ไม่เห็นความสำคัญในเรื่องกติกา กฎเกณฑ์หรือขอบเขต มักให้เหตุผลในการตามใจลูกว่าอยากให้เขามีความสุขที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่ลืมมองไปไกลว่าถ้าวัยรุ่นเรียนรู้ที่จะอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมได้แล้ว การที่จะไปยุ่งกับยาเสพติด เที่ยวกลางคืน มีเพศสัมพันธ์ นั้นก็เกิดยาก นั่นเป็นเพราะว่าถูกฝึกให้หัดยับยั้งตนเอง ยับยั้งอารมณ์ และรักษาวินัยมาตั้งแต่เล็กนั่นเอง เมื่อชีวิตประสบความสำเร็จในเรื่องการเรียน การอยู่รอดในสังคมโดยที่เป็นคนดี มีวินัย รับผิดชอบตัวเองและงานที่ได้รับมอบหมายได้ เขาก็จะมีความสุขระยะยาวไปชั่วชีวิต
ความใฝ่ฝันและความสุขสำคัญอย่างหนึ่งของวัยรุ่นทุกคน คือ อยากเป็นที่ยอมรับของพ่อแม่และคนอื่น และความรับผิดชอบก็เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการที่พวกเขาจะได้รับการยอมรับ ยิ่งผู้ใหญ่เห็นว่าเขารับผิดชอบดี รักษาคำพูดได้ ก็จะมอบความเชื่อถือและไว้วางใจให้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประสบความสำเร็จในชีวิต แต่การที่วัยรุ่นจะมีความรับผิดชอบได้นั้นต้องได้จากการฝึกสอนกันมาตั้งแต่เล็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยมอบหมายงานให้ทำ ให้เริ่มรับผิดชอบการดูแลตัวเอง ข้าวของเครื่องใช้ การเรียน งานบ้าน เงิน การเดินทาง รักษาเวลา สิ่งที่พูด รับผิดชอบผลของการกระทำของตนเอง เป็นต้น เพิ่มงานให้รับผิดชอบปีต่อปี จะทำให้เห็นชัดเจนว่ายิ่งโตก็มีความสามารถในการรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
ถ้าไม่เคยฝึกกันมาก่อน จะเริ่มฝึกในช่วงนี้ก็ยังทันแต่ก็ต้องเอาจริง โดยมีหลักการใหญ่ๆดังนี้
ความใฝ่ฝันและความสุขสำคัญอย่างหนึ่งของวัยรุ่นทุกคน คือ อยากเป็นที่ยอมรับของพ่อแม่และคนอื่น และความรับผิดชอบก็เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการที่พวกเขาจะได้รับการยอมรับ ยิ่งผู้ใหญ่เห็นว่าเขารับผิดชอบดี รักษาคำพูดได้ ก็จะมอบความเชื่อถือและไว้วางใจให้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประสบความสำเร็จในชีวิต แต่การที่วัยรุ่นจะมีความรับผิดชอบได้นั้นต้องได้จากการฝึกสอนกันมาตั้งแต่เล็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยมอบหมายงานให้ทำ ให้เริ่มรับผิดชอบการดูแลตัวเอง ข้าวของเครื่องใช้ การเรียน งานบ้าน เงิน การเดินทาง รักษาเวลา สิ่งที่พูด รับผิดชอบผลของการกระทำของตนเอง เป็นต้น เพิ่มงานให้รับผิดชอบปีต่อปี จะทำให้เห็นชัดเจนว่ายิ่งโตก็มีความสามารถในการรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
ถ้าไม่เคยฝึกกันมาก่อน จะเริ่มฝึกในช่วงนี้ก็ยังทันแต่ก็ต้องเอาจริง โดยมีหลักการใหญ่ๆดังนี้
- กำหนดงานที่มอบให้รับผิดชอบโดยการตกลงร่วมกันทั้งพ่อแม่และวัยรุ่น
- กำหนดกติกาในกรณีที่ทำได้ และไม่ได้ทำ พูดให้ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ทำตามกติกา
- ชื่นชมและมองผลงานของลูกเป็นระยะ ซึ่งช่วงแรกอาจทำได้ไม่ดีนัก ต้องให้กำลังใจแต่อย่าไปช่วยทำแทน ใช้หลักการเปรียบเทียบความสามารถของวัยรุ่นในอดีตกับปัจจุบัน
- เข้าใจความรู้สึก เพราะบางครั้งวัยรุ่นก็ไม่อยากทำงานที่ได้รับ แต่พวกเขาก็ต้องอดทนทำ โดยมีพ่อแม่ที่เข้าใจความรู้สึก แต่ก็ยืนยันให้ทำในสิ่งที่ต้องรับผิดชอบให้ได้
- อย่าเข้าไปช่วยเหลือจนเกินเหตุ เพราะจะทำให้วัยรุ่นหยุดทำ และหันมาพึ่งพาพ่อแม่อีก
- ใช้ท่าทีที่นุ่มนวลแต่เอาจริง เข้าใจความรู้สึกแต่ยึดในกติกาที่วางไว้ มีความเด็ดขาดอยู่ในท่าที
- ให้โอกาสบ่น ระบายความรู้สึกที่ไม่พอใจได้
- มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ไม่ใช้เทคนิค บ่น ว่า หรือประจานเมื่อทำได้ไม่ดี แสดงให้ชัดว่าพ่อแม่เชื่อมั่นว่าลูกต้องรับผิดชอบได้
- ใช้เวลาในการฝึก และฝึกฝนสม่ำเสมอ
- เมื่อทำได้แล้วค่อยๆเพิ่มงานให้รับผิดชอบขึ้น งานนั้นควรเป็นสิ่งที่มีความหมาย หรือซับซ้อนขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น